วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


วันที่ 15 กพ 2559 

 งดการเรียนการสอนค่ะ


ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ก็ได้บอกให้นักศึกษานำใบปั๊มมาปั๊มคะแนนลง
และจึงได้พูดคุยไปเรื่อยๆเพื่อ
รอเวลาเพื่อนมากันครบแล้วจึงค่อยฝึกการบริหาร















อาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน
เตรียมการทำกิจกรรมจังหวะระหว่างที่เตรียมก็ให้พักก่อน





หลังจากที่พักเสร็จอาจารย์จึงให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอการสอน












วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันที่ 8 และวันที่ 11 กพ 2559


         สมรรถนะทั้ง 7 ด้านแต่ล่ะช่วงวัย

การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี - วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่วางแขน
5 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

การมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี - พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
4 ปี - ช่วยเหลือเพื่อน
5ปี - ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่

ความทรงจำ
3 ปี - ท่องคำคล้องจองสั้นๆได้
4 ปี - บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
5 ปี - บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3 ปี -แก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้
4 ปี -แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย
5 ปี -แก้ปัญหาได้หลายวิธี

ความสำคัญ
ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเด็กปฐมวัยมากขึ้น
สร้างความตระหนักในความสำคัญของพัฒนาการเด็กในช่วงปฐมวัย
ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็ก
ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

ข้อตกลงเบื้องต้น
เด็กปฐมวัยทุกคนต้องมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง  ผู้ดูแล ครู อาจารย์
ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้(สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เป็นแบบ
ประเมินเด็ก ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการที่ล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป

สมรรถนะ 7 ด้านประกอบด้วย
1. การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
2. พัฒนาการด้านสังคม
3. พัฒนาการด้านอารมณ์
4. พัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา
5. พัฒนาการด้านภาษา
6. พัฒนาการด้านจริยธรรม
7. พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์

สรุปจากงานวิจัย
จากสมรรถนะจำนวน 419 ข้อ  พบว่าเด็กทำได้จากระดับง่ายไปหายาก
สมรรถนะ  178 ข้อ อยู่ระดับง่าย
สมรรถนะ  52 ข้อ อยู่ระดับปานกลาง
สมรรถนะ  189 ข้อ อยู่ระดับยาก

ดังนั้นข้อค้นพบเหล่านี้เป็นประเด็นที่บ้านและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมเด็กของเรา
ต่อไป บนพื้นฐานของการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง

แนะแนวหลักในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ดูแลเด็กครูและอาจารย์
1.รักเด็กเป็นที่ตั้ง
2.ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3.เข้าใจกระบวนการและพัฒนาตามวัยของเด็กอย่างรอบด้าน
4.เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
5.มีจินตนาการและค้นหาหรือสร้างสื่อเรียนรู้ที่ทำให้เด็กสนใจ สนุกอยากรู้เพิ่มเติม
6.สนับสนุนเด็กให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กคิด ให้เด็กมีส่วนร่วม
7.เป็นแบบอย่างที่ดี
8.ชี้ชวนเด็กให้รู้จักตนเอง
9.เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างเด็ก
10.สังเกตเด็กและพฤติกรรมของเด็ก
11.สร้างเครือข่ายพ่แม่ผู้ปกครองในชุมชน
12.คำนึง ประโยชน์สูงสุด ที่จะตกอยู่กับเด็กเป็นสำคัญ


วันพฤหัสบดีงดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ต้องไปแก้หลักสูตรใหม่



วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันที่ 1 และวันที่ 4กพ 2559


         เนื้อหาการเรียนการสอน
อาจารย์ได้ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอรายงานหน้าห้อง
ทฤษฎีเคลื่อนไหวและจังหวะ

        การเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของ กีเซล์ล
การเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่างๆ สำหรับพัฒนาการด้านร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการกระทำกับวัสดุ
กี่เซล์ลได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ด้าน
1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว
2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว
3. พฤติกรรมด้านภาษา
4. พฤติกรรมด้านนิสัยส่วนตัว

       การเรียนรู้ของบรูเนอร์
พัฒนาการและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม บรูเนอร์เน้นหลักการ 4 ข้อ คือ
1.แรงจูงใจ
2.โครงสร้าง
3.ลำดับขั้นความต่อเนื่อง
4.การเสริมแรง

   
      ทฤษฎีอิริคสันได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 8 ขั้นแต่กับเด็กจะมีแค่ 4 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นไว้วางใจและไม่ไว้วางใจ
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองและความสงสัยไม่แน่ใจ
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่มและการสำนึกผิด
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอและรู้สึกด้อย

     ทฤษฎีแบนดูร่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ
2.  กระบวนการคงไว้
3. กระบวนการแสดงออก
4. กระบวนการจูงใจ

     ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
เน้นการเรียนรู้ 3 ประการ
1. กฏแห่งความพร้อม
2. กฏแห่งการฝึกหัด
3. กฏแห่งผล
เด็กจะเรียนรู้การกระทำซ้ำๆหลายๆครั้ง เด็กจะเกิดทักษะในรูปแบบต่างๆซึ่งทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันดี

     ทฤษฎีของเพียเจย์
เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม เพียเจย์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆจะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย กิจกรรมทางการเคลื่อนไหวจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

     ทฤษฎีกิลฟอร์ด
กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองในการคิดหลายทิศทาง กิลฟอร์ดได้ให้องค์ประกอบของความคิดไว้ดังนี้
1. ความคิดริเริ่ม
2. ความคิดคล่องแคล่ว
3. ความคิดยืดหยุ่น
การเคลื่อนไหว เป็นความสามารถในการคิด จินตนาการ ความคิดแปลกใหม่โดยอาศัยความคิดและจินตนาการและประสบการณ์เดิมมาปรับปรุง

   ทฤษีของทอร์แรนซ์
ได้กล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึก หรือการเห็นปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้น
ขั้นที่ 1 การพบความจริง
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ


ความรู้ที่ได้รับ


 อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมาแนะนำท่าเต้นของแต่ล่ะคนที่จะนำไปใช้สอนเด็ก





   














อาจารย์ได้บอกให้นักศึกษาทุกคนเตรียมท่าออกกำลังกายไว้คนล่ะท่าแล้วออกมานำให้เพื่อนๆดู